วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิ 6 เดือนแรกปี 2555 จำนวน 16,958 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4


กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 6 เดือนแรกปี 2555 จำนวน 16,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,083 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปี 2554 โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2,182 ล้านบาท รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 1,466 ล้านบาท

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า "ในปีนี้สินเชื่อของธนาคารมีการเติบโตดี โดยมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ สินเชื่อระยะยาวจากการขยายการลงทุนของภาคเอกชน สินเชื่อระยะยาวจากการฟื้นฟูกิจการที่ประสบอุทกภัย และสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตสินค้าตามฤดูการผลิตปกติและเพื่อชดเชยสินค้าที่เสียหาย ส่งผลให้สินเชื่อของธนาคารใน 6 เดือนแรกปี 2555 ขยายตัว 71,115 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 จากสิ้นปีก่อน หรือร้อยละ 13.1 จากสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 และเป็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพในทุกกลุ่มลูกค้า ทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และลูกค้าบุคคล"
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินให้สินเชื่อของธนาคารจะเติบโตสูงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ทำให้ธนาคารสามารถควบคุมคุณภาพสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เท่ากับสิ้นปี 2554 และลดลงจากร้อยละ 3.0 ณ สิ้นปี 2553
ในขณะเดียวกัน ธนาคารมีการเตรียมความพร้อมด้านสภาพคล่อง โดยเน้นการระดมเงินฝากจากลูกค้ารายย่อย ทำให้ในครึ่งปีแรกธนาคารสามารถระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น 85,036 ล้านบาทหรือร้อยละ 5.4 จากสิ้นปี 2554 เงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากความสัมพันธ์ที่ธนาคารมีมายาวนานกับลูกค้าทุกกลุ่ม ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพตลาด


ใน 6 เดือนแรกปีนี้ ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 27,155 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,182 ล้านบาทหรือร้อยละ 8.7 จากงวดเดียวกันปีก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสินเชื่อของธนาคารที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิลดลงจากร้อยละ 2.69 ใน 6 เดือนแรกปี 2554 เป็นร้อยละ 2.63 ใน 6 เดือนแรกปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นและจากการที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายเงินนำส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝากและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น
ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจำนวน 15,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ และกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ในส่วนของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ธนาคารมีค่าใช้จ่ายจำนวน 18,356 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.7 จากงวดเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน
"ธนาคารคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศยังคงมีทิศทางที่ดี โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการขยายการลงทุนของภาครัฐในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และการขยายการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในประเทศและไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยอาจจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของวิกฤตเศรษฐกิจโลก ดังนั้นธนาคารจึงมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งในด้านสภาพคล่อง เงินกองทุน และเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญ รวมถึงการติดตามสถานการณ์และดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด ธนาคารเชื่อว่าการดำเนินงานดังกล่าว จะทำให้ธนาคารสามารถให้บริการที่เหมาะสมและเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ธนาคารมีความพร้อมรับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต"



ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิ 6 เดือนแรกปี 2555 จำนวน 16,958 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4


วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บรรยายพิเศษเรื่อง “ปลดล็อค...โครงสร้างการเงิน” ณ ห้องชาเทรียมบอลรูม โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์




กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกันจัดโครงการ “Bualuang SMART Family Enterprise เพื่อนคู่คิดวิสาหกิจครอบครัว" โดยมีหลักสูตรปลดล็อค...ปัญหาโครงสร้างธุรกิจครอบครัวอย่างมืออาชีพ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้และกลยุทธ์ในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ของธุรกิจครอบครัว โดยครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก สุวภา เจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการ บมจ. หลักทรัพย์ ธนชาต บรรยายพิเศษเรื่อง “ปลดล็อค...โครงสร้างการเงิน” ณ ห้องชาเทรียมบอลรูม โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ

ในภาพ: (จากซ้าย) วีชัชชฏา ยงสุวรรณกุล ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, วีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), สุวภา เจริญยิ่ง, วรรณสุดา ธนสรานาต ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ลูกค้าจีน สายลูกค้าธุรกิจรายกลาง นครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ นวพล วิริยะกุลกิจ ผู้บริหารสายงานวิจัยเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ และที่ปรึกษาธุรกิจ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ข่าววันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2555

ที่มา http://www.newswit.com/fin/2012-07-20/e2e26b4ead1a629393a51220ca44d465/

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ข่าว ธนาคารกรุงเทพชี้ความร่วมมือสร้างโอกาสแก่กลุ่มประเทศในเขตลุ่มน้ำโข


       นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวระหว่างการเสวนาระดับผู้นำ ในหัวข้อ "Greater Mekong Investment Forum" ซึ่งจัดโดยยูโรมันนี่ โดยมีธนาคารกรุงเทพเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงานว่า อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) มีศักยภาพที่จะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สมาชิกในกลุ่มจีเอ็มเอส ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมณฑลยุนนานและกว่างสีในจีนตอนใต้ เมื่อผนวกเข้าด้วยกันจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรกว่า 350 ล้านคน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งในภาคการธนาคาร การค้า การลงทุน และระบบโครงสร้างพื้นฐาน


        "เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้กำลังหลอมรวมและเชื่อมโยงกันมากขึ้นกว่าครั้งใด ผ่านการค้าชายแดนของแต่ละประเทศ ตลอดจนการลงทุนและการแลกเปลี่ยนบริการในด้านต่างๆ ซึ่งจำเป็นที่ทุกประเทศสมาชิกจะต้องร่วมกันรักษาและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเงินทุน องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการตลอดจนบทบาทและความสัมพันธ์ของประเทศไทยในห่วงโซ่อุปทานของโลก ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่มจีเอ็มเอสในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันและกับประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์สูงสุดแก่อนุภูมิภาคดังกล่าว"

ความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกจีเอ็มเอสซึ่งต่างมีความโดดเด่นในเชิงการแข่งขันเฉพาะตัวจะสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแก่ทุกประเทศในอนุภูมิภาคได้มากกว่าการดำเนินการของแต่ละประเทศโดยลำพัง

ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะธนาคารพาณิชย์ที่มีเครือข่ายสาขากว่า 25 แห่งในต่างประเทศและสำนักงานตัวแทนอีก 1 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน รวมทั้งความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศ จีเอ็มเอสมายาวนานกว่า 50 ปี ธนาคารกรุงเทพจึงพร้อมให้การสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ด้วยความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้งตลอดระยะเวลา 2 วันของการประชุม ธนาคารกรุงเทพได้จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ เวิร์กช็อปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส โดย ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และสมาชิกวุฒิสภา ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้เข้าร่วมการเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโอกาสทางธุรกิจและศักยภาพในการเติบโตของอนุภูมิภาค





                            รางวัลแห่งเกียรติยศ


 ธนาคารกรุงเทพได้รับการยกย่องจากสื่อมวลชนและองค์กรภายในประเทศและระดับนานาชาติอยู่เนืองๆ รางวัลล่าสุดที่ธนาคารได้รับ

http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/AboutBangkokBank/AboutUs/CorporateProfile/Awards/Pages/default.aspx

ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารกรุงเทพ รับมอบรางวัล Bank of the Year ปีที่ 6 ติดต่อกัน พร้อมรางวัลบูธดีเด่นในงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 12
6 กรกฎาคม 2555

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหารและพนักงานร่วมฉลองความสำเร็จและรับมอบรางวัล Money & Banking Awards 2012 ในสาขา "ธนาคารแห่งปี 2555 หรือ Bank of the Year 2012" ซึ่งเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน และรางวัลดีเด่น บูธสวยงามประเภทพื้นที่ขนาดใหญ่ ในงาน Money Expo 2012 หรือมหกรรมการเงินครั้งที่ 12 จากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสันติ วิริยะรังสฤษฏ์ ประธานจัดงาน โดยการประกาศยกย่องจากวารสารการเงินธนาคาร ด้วยความสามารถด้านผลการดำเนินงานที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีกำไรสุทธิต่อหุ้นสูงเป็นอันดับ 1 จำนวน 14.48 บาท และมีกำไรสุทธิ 27,365 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.71% รวมทั้งมีมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value) สูงสุดในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ 123.24 บาท

ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารกรุงเทพ สานต่อนโยบายสร้างโอกาสทางการศึกษาในชนบท ส่งมอบอาคารเรียนธนาคารกรุงเทพแห่งที่ 28 โรงเรียนหนองไผ่หนองหิน อุดรธานี
4 กรกฎาคม 2555

หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล กรรมการธนาคาร และนายอภิชาต รมยะรูป ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ พร้อมผู้บริหารและพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมส่งมอบอาคารเรียนธนาคารกรุงเทพ 28 โรงเรียนบ้านหนองไผ่หนองหิน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พร้อมอุปกรณ์ทางการศึกษา โดยมีนายนพวัชร สิงห์ศักดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายดิลก พจน์พงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษา - ประถมศึกษาอุดรธานี เขต1 นายแจ่ม ไพรดีพะเนาว์ ผู้อำนวยการโรงเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่หนองหิน ร่วมรับมอบ สำหรับโครงการสร้างอาคารเรียนในพื้นที่ห่างไกลนับเป็นหนึ่งในภารกิจคืนกลับสู่สังคมที่ธนาคารกรุงเทพดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 37 เพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในต่างจังหวัด โดยธนาคารได้ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนและส่งมอบให้กับจังหวัดต่างๆ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศมาแล้ว 27 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 28 แห่ง และในทุกปีจะดำเนินการสำรวจและซ่อมแซมอาคารเรียนที่ส่งมอบไปแล้วให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ ทั้งนี้ธนาคารกรุงเทพจะยังคงสานต่อกิจกรรมดังกล่าวต่อไปตามปณิธานที่วางไว้

ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารกรุงเทพ ชี้ความร่วมมือสร้างโอกาสแก่กลุ่มประเทศในเขตลุ่มน้ำโขง
22 มิถุนายน 2555

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวระหว่างการเสวนาระดับ
ผู้นำ ในหัวข้อ "Greater Mekong Investment Forum" ซึ่งจัดโดยยูโรมันนี่ โดยมีธนาคารกรุงเทพเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงานว่า อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) มีศักยภาพที่จะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สมาชิกในกลุ่มจีเอ็มเอส ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมณฑล
ยุนนานและกว่างสีในจีนตอนใต้ เมื่อผนวกเข้าด้วยกันจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรกว่า 350 ล้านคน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งในภาคการธนาคาร การค้า การลงทุน และระบบโครงสร้าง
พื้นฐาน

"เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้กำลังหลอมรวมและเชื่อมโยงกันมากขึ้นกว่าครั้งใด ผ่านการค้าชายแดนของแต่ละประเทศ ตลอดจนการลงทุนและการแลกเปลี่ยนบริการในด้านต่างๆ ซึ่งจำเป็นที่ทุกประเทศสมาชิกจะต้องร่วมกันรักษาและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเงินทุน องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการตลอดจนบทบาทและความสัมพันธ์ของประเทศไทยในห่วงโซ่อุปทานของโลก ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่มจีเอ็มเอสในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกันและกับประเทศอื่นๆ เพื่อ
สร้างสรรค์ประโยชน์สูงสุดแก่อนุภูมิภาคดังกล่าว"

ความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกจีเอ็มเอสซึ่งต่างมีความโดดเด่นในเชิงการแข่งขันเฉพาะตัวจะสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแก่ทุกประเทศในอนุภูมิภาคได้มากกว่าการดำเนินการของแต่ละประเทศโดยลำพัง

ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะธนาคารพาณิชย์ที่มีเครือข่ายสาขากว่า 25 แห่งในต่างประเทศและสำนักงานตัวแทนอีก 1 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน รวมทั้งความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศ จีเอ็มเอสมายาวนานกว่า 50 ปี ธนาคารกรุงเทพจึงพร้อมให้การสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ด้วยความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้ง

ตลอดระยะเวลา 2 วันของการประชุม ธนาคารกรุงเทพได้จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ เวิร์กช็อปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส โดย ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และสมาชิกวุฒิสภา ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้เข้าร่วมการเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโอกาสทางธุรกิจและศักยภาพในการเติบโตของอนุภูมิภาค

อนึ่ง ผู้เข้าชมบูธธนาคารกรุงเทพภายในงานจำนวนมากสนใจสอบถามเกี่ยวกับประเทศพม่า เนื่องจากธนาคารได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศพม่ามาตั้งแต่ปี 2538 จนกระทั่งปัจจุบัน ธนาคารมีเจตนารมณ์ที่จะยื่นขออนุญาตเปิดสาขาในประเทศพม่าทันทีที่ทางการของพม่าดำเนินนโยบายเปิดเสรีภาคการธนาคาร

เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประเทศพม่าของธนาคารกรุงเทพได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดตั้งธุรกิจในประเทศพม่า ปัจจัยด้านกฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างชาติ และโอกาสทางธุรกิจของ
ผู้ประกอบการไทย

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติของประเทศพม่า โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเริ่มเปิดประเทศรับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ธุรกิจไทยจึงควรตระหนักถึง
จุดแข็งของพม่า อันได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ความพร้อมด้านแรงงาน และการเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการมีความสนใจเข้าไปลงทุนอย่างมาก ดังนั้นเมื่อการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากนานาชาติยุติลง ธุรกิจไทยจะมีโอกาสในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าได้มากยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารกรุงเทพ เปิดตัวเงินฝากประจำ 5 เดือน ดอกเบี้ยพิเศษ 3.25% เริ่มจันทร์ที่
25 มิถุนายนนี้

22 มิถุนายน 2555

ธนาคารกรุงเทพ แนะนำเงินฝากประจำระยะเวลา 5 เดือน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.25% ต่อปี เริ่มวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 ด้วยยอดเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 200,000 บาท นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้าเงินฝากที่ต้องการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในระยะเวลาอันสั้น เพื่อการวางแผนด้านการเงิน

ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำพิเศษระยะเวลา 5 เดือน อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.25% ต่อปี โดยลูกค้าสามารถเปิดบัญชีขั้นต่ำด้วยยอดเงินเพียง 200,000 บาท ซึ่งธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบระยะเวลาการฝาก พร้อมเริ่มให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 และจะสิ้นสุดในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2555

การออกผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากประจำ 5 เดือนในครั้งนี้ เป็นไปตามคำเรียกร้องของกลุ่มลูกค้าที่เน้นการลงทุนในด้านการออมอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารเชื่อมั่นว่าด้วยข้อเสนอของเงินฝากประจำที่ระยะเวลาการฝากสั้นเพียง 5 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงจูงใจ และจำนวนเงินฝากขั้นต่ำเพียง 200,000 บาท จะสร้างความพึงพอใจและ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามธนาคารยังคงมีเงินฝากประจำ 11 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี ไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้า ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฏาคม 2555 ทั้งนี้ลูกค้าที่สนใจสามารถเปิดบัญชีเงินฝากประเภทดังกล่าวได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บัวหลวงโฟน โทร.1333

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ข่าว แบงก์ยันพร้อมสำรองเพิ่มรับวิกฤติหนี้ยุโรป


      นายแบงก์ยันพร้อมกันสำรองเพิ่มรับมือวิกฤติหนี้ยูโรป พร้อมเกาะติดสถานการณ์การเมืองในประเทศใกล้ชิด รับกดดันการลงทุนตลอดช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 16:33

    


          จากเนื้อข่าว นายชาติศิริ  โสภณพนิช  กรรมการผู้จัดการใหญ่ BBL ได้วิเคราะห์ทิศทางและผลกระทบในด้านต่างๆของ BBL จากปัญหาวิกฤติยุโรป หาหนทางแก้ไขปัญหา และได้มีการทบทวนถึงความจำเป็นต่อการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมอีกด้วย
         แบงก์ชาติได้ให้ BBL ดูความเหมาะสมในการตั้งสำรองฯเป็นระยะๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ BBL โดยตรง และต้องประเมินตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ BBL จะมีระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เป็นกองทุนขั้นที่1 ถึง 11%
           ซึ่งในขณะเดียวกัน นางกรรณิกา  ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCB ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจของไทยถึงการส่งออกว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติยุโรป   ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อจะต้องตั้งรับและการปรับตัวให้มีความแข็งแกร่ง แต่สำหรับลูกค้าของ SCB ที่ได้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับยุโรปหรือกับต่างประเทศ ทาง SCB จะต้องเข้าไปให้บริการลูกค้าอย่างใกล้ชิด แต่ SCB ก็ยังกังวลถึงความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน
ทาง SCB จึงได้ปรับเพิ่มการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีระดับสูงขึ้น และควบคุมหนี้ NPL ให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อที่จะเตรียมรับกับวิกฤติยุโรปที่จะเกิดขึ้น


           จากเนื้อข่าวจะเห็นว่าไม่มีผู้ใดได้รับประโยชน์จะมีแต่ผู้ที่สูญเสียประโยชน์จากปัญหาวิกฤติยุโรป จากเนื้อข่าวนี้ถือเป็นการเตือนประชาชนให้มีการเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะต่อสู้กับวิกฤติยุโรปที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันไม่ไกล

การมอบรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2012

การมอบรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2012





กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--วารสารการเงินธนาคาร


กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Money & Banking Awards 2012 โดยมี ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านการตลาด บมจ.แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส และสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานและบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร ณ ห้องบอลรูม โรงแรมโซฟิเทล โซ แบงคอก กรุงเทพฯ   สำหรับรางวัล “Money & Banking Awards 2012” เป็นรางวัลเกียรติยศที่วารสารการเงินธนาคารมอบให้แก่ผู้บริหารสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน และบริษัทจดทะเบียนรวม รวม 28 รางวัล ดังนี้ รางวัลธนาคารแห่งปี 2555 (Bank of the Year 2012) ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารไทยพาณิชย์ รางวัลธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2555 (Best Retail Bank of the Year 2012) ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2555 (Best Public Company of the Year 2012) ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และรางวัลบูธสวยงาม งานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 12 Money Expo 2012


ที่มา http://www.newswit.com/fin/2012-07-06/78b834dccdfcb7196ff7d9c449bf506f/

'ประสาร'ชี้10ประเทศอาเซียนรวมกันแกร่ง ศก.ขึ้นอันดับ2ของโลก


"ประสาร"แนะนักธุรกิจรับมือการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระบุ 10 ประเทศรวมกันขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ2ของโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  วันที่ 8 กรกฎาคม 2555 07:31

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง, เนชั่น กรุ๊ป และ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมมนาทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีนายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เน ชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นประธานกล่าวเปิดและต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความสนใจจากนักศึกษา นักธุรกิจ และ ประชาชนในจ.ลำปาง เข้าร่วมในเวทีสัมมนากว่า 300 คน โดยมี ดร.ประสาน ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง "รู้ทิศ ปรับกระบวนทัศน์ ให้ทันประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
ดร.ประสาร กล่าวว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี มีมิติที่เกี่ยวข้องกันหลายเรื่อง โดยผู้นำประเทศใน เออีซี ทั้ง 10 ประเทศมีแนวคิดรวมตัวกันเป็นกลุ่มและวางกรอบความร่วมมือกันใน 3 ด้าน คือ การค้า การลงทุน และการเงิน จุดเริ่มต้นของเออีซี เกิด จากผู้นำทั้ง 10 ประเทศสนใจที่จะรวมตัวกันเพื่อให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศเชื่อมโยงกันมากขึ้น การวมตัวไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจใหญ่ ขึ้นเท่านั้น แต่ด้านการค้าและการลงทุนก็ได้รับความสนใจด้วย จากข้อมูลของสหประชาชาติเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 32 ของโลก ขณะที่อันดับหนึ่ง คือ อเมริกา จีน และญี่ปุ่นตามลำดับ
ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจของไทยจะอยู่ในอันดับที 32 ถือว่าไม่เลวร้ายมากแต่ขนาดเศรษฐกิจมีสัดส่วนเพียง 0.5% เมื่อเทียบกับ เศรษฐกิจโลก และเมื่อเทียบกับอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทยถึง 50 เท่า

แต่เมื่อ 10 ประเทศในอาเซียนรวมตัวกันขนาด เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยอินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดส่วนไทยอยู่อันดับสอง ส่วนจำนวนประชากรทั้ง 10 ประเทศรวมกันมีมากถึง 600 ล้านคน และขนาดเศรษฐกิจมีสัดส่วนถึง 3% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก ขณะที่เศรษฐกิจของอเมริกามีสัด ส่วนใหญ่กว่าเศรษฐกิจของอาเซียนเหลือเพียง 8 เท่า
นอกจากนี้สถานะของเออีซียังไม่ได้หยุดอยู่แค่ 10 ประเทศเท่านั้น ยังมีอาเซียนบวก 3 คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี การเข้ามา ลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยไม่ได้มองเฉพาะไทย แต่มองไทยพลัส เพราะเมื่อเศรษฐกิจของอาเซียนบวกกับเศรษฐกิจของอีก 3 ประเทศ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 21% ใกล้เคียงกับอเมริกา หากในอนาคตมีอาเซียนบวกหก คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียเพิ่ม โดยข้อตกลงเอฟทีเอที่ไทยทำไว้กับประเทศต่างๆขนาดเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเป็น 27% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของโลก ซึ่งความหมายของ การรวมกลุ่มเป็นเออีซี เพื่อขยายฐานการผลิตขงประเทศสามชิกให้คล่องตัวมากขึ้น มีการใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน ฯลฯ
ดร.ประสาร กล่าวว่า กรณีของประเทศไทยมีโจทย์ที่ต้องคิดเพิ่มเติม คือ เมื่อมีการใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน ก็ควรใช้อย่างอื่น ร่วมกันด้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

เพราะประเทศไทยกำลังอยู่ในกับดักของรายได้ในระดับปานกลาง ต่อไปประเทศที่กำลัง พัฒนา เช่น ลาว พม่า ก็จะพัฒนาประเทศใกล้เคียงกับไทย ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ประเทศพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้เพื่อออกจากกับดักดัง กล่าวจึงจำเป็นต้องใช้และอาศัยปัจจัยการผลิตของประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนรูปแบบในการรวมตัวกันเป็นเออีซีของ 10 ประเทศ ไม่ได้มีแนวความคิดแบบยุโรปที่มีการรวมตัวกัน เพราะในเชิง ศักยภาพประเทศในอาเซียนไม่ได้ถึงระดับของผู้บริโภคสุดท้าย คือ ผลิตใช้ในประเทศทั้งหมด แต่ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ยังมี บทบาทของคนกลาง คือ ผลิต ส่งขาย จึงต้องรวมตัวกันเพื่อสร้างตลาดและเศรษฐกิจร่วมกัน แต่เออีซียังต้องพัฒนาเพิ่มเติมนอกจาก ตลาดการค้า และสินค้า ยังมีเรื่องทุน และแรงงานเพิ่มเติมเข้ามาอีก ซึ่งเป้าหมายของเออีซียังเป็นแบบกลางๆคือ ทำข้อตกลงการค้า การ ตลาด และการลงทุนเสรีร่วมกัน แต่สำหรับยุโรปนอกจากข้อตกลงเขตเศรษฐกิจร่วมกัน ยังใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันด้วย แต่สิ่งที่ไม่ได้ทำคือ การประสานนโยบายการคลังและการเมืองที่ดีพอร่วมกัน
ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของยุโรปมีปัญหาจึงเกิดผลข้างเคียงขึ้น แม้ในระยะแรงจะได้ประโยชน์เพราะได้สร้างความมั่งคั่งให้กับ ประเทศสมาชิก เช่นกรณีของประเทศกรีซ ที่เข้าสู่กลุ่มยุโรปในปี 2000 มีข้อตกลงใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน ซึ่งเดิมการกู้เงินของกรีซจะมี อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเยอรมันซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า แต่เมื่อไม่มีการประสานเรื่องนโยบายการเงินและการคลังร่วมกันกรีซจึงใช้ จ่ายเท่าเยอรมันที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าจนมีการอุปโภค-บริโภคเกินเลยเพราะใช้เงินสกุลเดียวกัน เมื่อเงินมีความเข้มแข็งสูงกว่า สภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่เมื่อขาดวินัยการเงินการคลังก็ประสบปัญหาและปัญหาก็ไม่ได้ถูกสะท้อนออกมาจนในที่สุดแก้ยาก ข้อเท็จ จริงสกุลเงินของกรีซต้องอ่อนกว่าสกุลเงินของเยอรมัน ท้ายที่สุดปัญหาจึงลามจากการเงินการคลังของรัฐบาลไปสู่สถาบันการเงิน รูป แบบของเงินสกุลยูโรจึงไม่ใช่สิ่งที่ผู้นำประเทศในอาเซียนคิด
ส่วนภาคการเงินหลังมีจุดเริ่มต้นรวมตัวกันเพื่อขยายตลาดการค้าและการลงทุน ซึ่งจะไปได้ดีต้องได้รับการสนับสนุนจากภาค การเงิน จึงมีแนวคิดประสานกันในภาคการเงินด้วย ได้มีการวางกลยุทธ์พัฒนาระบบการเงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการ เชื่อมโยงระบบการเงิน และพัฒนาสถาบันการเงินให้มีความเข้มแข็ง เพราะเศรษฐกิจของอาเซียนจะไปด้วยกันได้ต้องพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศในอาเซียนให้เท่าเทียมกัน ในปี 1995 จึงเริ่มเปิดเสรีตลาดเงินร่วมกันแต่แนวโน้มจะมีการพัฒนามากในช่วงปี 2014 - 2020 ขณะที่ภาคการค้ามีการลดภาษีเหลือ 0% ในหลายรายการ เหลือสินค้าบางรายการที่อ่อนไหวเท่านั้นที่ค่อยๆทะยอยลด โดยตั้งใจว่าภาย ในปี 2015 ตลาดการค้าในอาเซียนจะต้องเป็นตลาดการค้าที่เสรี

ดร.ประสาร กล่าวอีกว่า สำหรับภาคการเงิน ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่อ่อนไหวจึงกำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2020 เพื่อวางกรอบ ข้อตกลงในแต่ละประเทศอย่างเป็นขั้นตอนภายใต้บริบททางการเงิน 4 ด้าน คือ การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของประเทศในเออีซี การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การพัฒนาตลาดทุน และการเปิดเสรีภาคการธนาคาร ซึ่งระบบการเงินจะพัฒนาไปได้ดี แต่ละ ประเทศต้องสามารถไประดมทุนในตลาดกลางของภูมิภาคได้ ส่วนการเชื่อมต่อระบบชำระเงิน เพื่อการค้า การโอนเงิน และการทำธุรก รรมในตลาดทุน หลายประเทศเริ่มใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงกันทำให้การชำระเงินง่ายขึ้น เช่นกรณีของระบบการเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ของไทยและมาเลเซียที่เชื่อมโยงกันแล้ว หรือ การทำข้อตกลงในระดับทวิภาคีระหว่างธนาคารกรุงเทพและธนาคารใน สปป.ลาว ซึ่งต่อไปรูปแบบดังกล่าวจะขยับเป็นข้อตกลงแบบพหุภาคีที่ขยายเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเออีซี ต่อไปจะทำให้ระบบการชำระเงิน ของประเทศในเออีซีสะดวกมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้การลดจุดตรวจการชำระเงินเป็นการเปิดเสรีให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมากขึ้น ซึ่งไทยจะทำคู่ขนานไปกับการส่งเสริมให้ คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ แต่สำหรับการเปิดเสรีภาคการธนาคารเนื่องจากแต่ละประเทศมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จึงมีความได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้นจึงได้มีการกำหนดกรอบการเปิดเสรีไว้ในปี 2020 ขณะที่ปัจจุบันมีการตั้งคณะทำงานเพื่อวาง กฎเกณฑ์และคุณสมบัติของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าข่ายได้รับอนุญาตไปเปิดทำธุรกรรมในต่างประเทศได้คาดว่ากรอบจะออกในปีนี้ แต่ ปัจจุบันจะเห็นว่ามีธนาคารหลายแห่งของประเทศในเออีซีเข้ามาลงทุนในไทย
สำหรับกรณีของประเทศไทยศักยภาพที่สถาบันการเงินของ เอกชนจะไปแข่งขันขึ้นกับปัจจัยด้านคนและทุน ไทยอาจยังมีข้อจำกัด เพราะไม่มีบุคลากรที่พร้อมไปทำงานนอกประเทศ และอาจ ประสบปัญหาผลตอบแทนต่ำกว่าที่เคยลงทุนในประเทศ
"ธนาคารกรุงเทพฯถือว่ามีฐานการลงทุนที่ใหญ่สุด หากมีการเปิดเสรีและมีธนาคารจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันไม่น่าจะมี ผลมากเพราะระยะหลังจะเห็นว่ามีธนาคารต่างชาติเข้ามาลงทุนจำนวนมาก แต่สำหรับธนาคารไทยเมื่อเปิดเสรีจะแข่งขันได้อย่างไรถือ เป็นโจทย์สำคัญ ที่ผ่านมาจึงมีแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินก่อนก้าวสู่เออีซี เช่น ปี 2004 - 2008 เน้นการสร้างความเข้มแข็ง ส่วน ในเฟสที่ 2 ปี 2010 - 2014 เน้นการประสานงานกันเพื่อเพิ่มทุนและสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ"ดร.ประสาร กล่าว

ดร.ประสาร กล่าวต่อไปว่า สำหรับตลาดทุนที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีมูลค่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อ 10 ประเทศในเอ อีซีมารวมกันตลาดหุ้นมีมูลค่าสูงถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงมีการคัดเลือกหุ้น 30 ตัวจากตลาดทุนของแต่ละประเทศในเออี ซีที่มีความโด่ดเด่น เพื่อให้นักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุน แต่ในระยะต่อไปจะมีการสร้างเกสเวย์ หรือศูนย์กลางโดยใช้เน็คเวิร์คของแต่ ประเทศสมาชิกเออีซี เพิ่มเชื่อมโยงตลาดทุนระหว่างกัน ต่อไปนักลงทุนสามารถซื้อหุ้นของอีกประเทศในกลุ่มเออีซีผ่านโปรเกอร์ใน ประเทศของตนเองได้ หากพัฒนาตลาดทุนได้จะเป็นการเปิดเสรีให้สามารถไประดมทุนในต่างประเทศได้ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
เนื่องจากในภูมิภาคอาเซียนมีเงินออมเหลือและมีความต้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมาก ที่ผ่านมาจึงเห็นเงินออของอา เซียนไปลงทุนในตลาดทุนของลอนดอน นิวยอร์ก ก่อนจะกลับมาในเอเชีย ดังนั้นหากธนาคารในยุโรปอ่อนแอเป็นไปได้หรืแไม่ที่ธนาคาร ในเอเชียจะเข้ามาทดแทนจึงเป็นโจทย์และความท้าทายที่ต้องคิดกันต่อไป
อย่างไรก็ตามโอกาสและความท้าทายของประเทศในเออีซียังมี เพราะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศยังแตกต่างกันการก้าวสู่ ประชาคมอาเซียนจึงต้องลดจุดอ่อนข้อนี้ สถาบันการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างคน

เงินบาทปิดที่ระดับ31.63/65บาท/ดอลลาร์


เงินบาทปิดที่ระดับ31.63/65บาท/ดอลลาร์

โดย กระแสหุ้น FRIDAY, 06 JULY 2012 17:44
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.63/65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.58/60 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้เงินบาทแกว่งอยู่ในกรอบแคบๆ และช่วงบ่ายได้ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ วันนี้เป็นแรงซื้อขายปกติระหว่างวัน ไม่ได้มีปัจจัยอะไรเด่นๆ มาก" นักบริหารเงิน ระบุ

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 79.89 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2376 ดอลลาร์/ยูโร

คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย. ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือนมิ.ย. เป็นต้น

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า มองกรอบไว้ที่ 31.64-31.79 บาท/ดอลลาร์

แบงก์ยันพร้อมสำรองเพิ่มรับวิกฤติหนี้ยุโรป


นายแบงก์ยันพร้อมกันสำรองเพิ่มรับมือวิกฤติหนี้ยูโรป พร้อมเกาะติดสถานการณ์การเมืองในประเทศใกล้ชิด รับกดดันการลงทุนตลอดช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 16:33

นายชาติศิริ โสภณพนิชกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ธนาคารอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ทิศทางและผลกระทบด้านต่างๆจากปัญหาวิกฤติยุโรป เพื่อหาแนวทางป้องกัน แม้ว่าเบื้องต้นยังไม่พบลูกค้าธนาคารได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งจะมีการทบทวนถึงความจำเป็นต่อการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติม
ปัจจุบัน ธนาคารมีการสำรองฯราว 1,500-1,800 ล้านบาทต่อไตรมาส ซึ่งสามารถครอบคลุมการขยายตัวสินเชื่อใหม่ได้ทั้งหมด ประกอบกับธนาคารใช้ความระมัดระวังในการควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้อยู่ระดับต่ำด้วย
"แบงก์ชาติให้เราดูความเหมาะสมในการตั้งสำรองเป็นระยะๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เราประเมินตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยภาพรวมแบงก์ส่วนใหญ่มีระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูง โดยเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ถึง11%"นายชาติศิริ กล่าว
ขณะที่นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการส่งออกคงจะได้รับแรงกระแทกจากวิฤกติยุโรปอย่างชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีนี้ เป็นต้นไปจนถึงปี 2556 ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องเตรียมตั้งรับและปรับตัวให้มีความแข็งแกร่ง ในแง่ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยแม้ว่ายังมีความแข็งแกร่ง แต่อาจถูกกระทบจากลูกค้าที่มีธุรกรรมเกี่ยวข้องกับยุโรปหรือต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต้องเข้าไปบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด
ขณะเดียวกันยังต้องติดตามประเด็นความไม่สงบการเมืองในประเทศด้วย เนื่องจากมีส่วนกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งธนาคารกังวลประเด็นนี้มาตลอด 6-7 ปีจนถึงปัจจุบัน
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวอีกว่า ธนาคารได้ปรับเพิ่มการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็น 500 ล้านบาทต่อเดือนจากปีก่อนที่มีการกันสำรองราว 300 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ระดับสำรองหนี้สูงกว่าถึง 130% เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือวิฤกติที่เกิดขึ้นและการขยายสินเชื่อ ซึ่งมั่นใจว่ามีความเพียงพอ เนื่องจากควบคุมหนี้เอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับต่ำมาก

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เงินบาทปิด 31.52/54 แกว่งแคบ นลท.รอผลประชุม ECB-ยอดว่างงานสหรัฐฯ


เงินบาทปิด 31.52/54 แกว่งแคบ นลท.รอผลประชุม ECB-ยอดว่างงานสหรัฐฯ

โดย ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2555 17:23:01 น.

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.52/54 บาท/ดอลลาร์ เท่ากับช่วงเช้าที่เปิดตลาดในระดับเดียวกัน
วันนี้เงินบาทแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆ นักลงทุนต่างรอผลการประชุมเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป(ECB)คืนนี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า ECB จะมีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จากระดับปัจจุบันที่ 1% นอกจากนี้ตลาดยังรอดูทางฝั่งสหรัฐฯ ที่จะมีการประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานประจำสัปดาห์ในคืนนี้ด้วยเช่นกัน
"ตลาดรอดู ECB คืนนี้จะลดดอกเบี้ยลงตามที่คาดหรือไม่ จริงๆ ตลาดอยากให้ลดอยู่แล้ว เพราะจะช่วยให้ดอกเบี้ยอื่นๆ ปรับลดลงด้วย ซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรป" นักบริหารเงิน ระบุ
ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 79.71/80 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2500/2515 ดอลลาร์/ยูโร
นักบริหารเงิน คาดการณ์เงินบาทพรุ่งนี้มีโอกาสอ่อนค่า โดยมองกรอบไว้ที่ระดับ 31.40-31.80 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่จะมีผลต่อทิศทางค่าเงินบาทในวันพรุ่งนี้



ที่มา http://www.ryt9.com/s/iq03/1439216

'โฆษิต'ทำนาย ศก.ไทยโต 6%


'โฆษิต'ทำนาย ศก.ไทยโต 6%


โดย ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- พฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2555 00:00:30 น.

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คงจะอยู่ที่ระดับประมาณ 5-6% เพราะฐานการเติบโตในปีที่แล้วต่ำมาก เนื่องจากผลกระทบน้ำท่วม ทั้งนี้ถ้าการเติบโตในไตรมาสที่ 4 สามารถเติบโตได้เท่ากับไตรมาสที่ 3 ในปีที่แล้ว ก็ถือว่าเศรษฐกิจไม่ได้เติบโตเลย
สำหรับการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม นายโฆสิต มองว่าคงจะไม่มีแรงกระตุ้นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง เพราะการใช้จ่ายคงจะหมดแล้วในครึ่งปีแรก หลังจากที่รัฐบาลได้เร่งการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูน้ำท่วมมาระยะหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม การกู้เงินของภาครัฐเพื่อการลงทุนในโครงการต่างๆ ควรจะบรรจุอยู่ในงบประมาณประจำปี เพื่อให้สามารถตรวจสอบการใช้เงิน และให้สาธารณชนสามารถรับทราบความคืบหน้าของการใช้จ่าย เนื่องจากว่าการใช้เงินมีผลต่อสถานะการเงิน-การคลังของประเทศ เช่น สัดส่วนหนี้สาธารณะ
"การลงทุนของรัฐที่ผ่านมา บางส่วนเกินความจำเป็นและไม่สมดุล เช่น การลงทุนทางด้านถนนในบางพื้นที่มากเกินความจำเป็น แต่การลงทุนเพื่อพัฒนาการขนส่งด้านรถไฟควรจะต้องลงทุนนานแล้ว การลงทุนทางด้านการขนส่งในกรุงเทพฯ มีมาก แต่ขาดการลงทุนเพื่อพัฒนาการขนส่งในเมืองหลัก เช่น การขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้โครงการลงทุนต้องเป็นโครงการที่ดี สามารถเพิ่มสถานะของประเทศ และต้องมีการเตรียม การที่ดี ต้องมีความพร้อมในการลงทุน เช่น หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องมีการจัดทำความเป็นไปได้ของโครงการก่อน" นายโฆสิต กล่าว สำหรับการเติบโตทางด้านสินเชื่อของแบงก์ ประเมินว่า ควรจะเติบโตในระยะที่ใกล้เคียงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจคือ ประมาณ 6-8% ส่วนการลงทุนของภาคธุรกิจไทยในอนาคต ควรจะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อใช้โอกาสในเรื่องการลดต้นทุนการลงทุน เช่น ค่าแรง ทรัพยากร เนื่องจากเป็นข้อจำกัดด้านการลงทุนในประเทศไทย


ธนาคารกรุงเทพ สานต่อนโยบายสร้างโอกาสทางการศึกษาในชนบท ส่งมอบอาคารเรียนธนาคารกรุงเทพแห่งที่ 28 โรงเรียนหนองไผ่หนองหิน อุดรธานี

ธนาคารกรุงเทพ สานต่อนโยบายสร้างโอกาสทางการศึกษาในชนบท ส่งมอบอาคารเรียนธนาคารกรุงเทพแห่งที่ 28 โรงเรียนหนองไผ่หนองหิน อุดรธานี




โดย ธนาคารกรุงเทพ  4 กรกฎาคม 2555



หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล กรรมการธนาคาร และนายอภิชาต รมยะรูป ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ พร้อมผู้บริหารและพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมส่งมอบอาคารเรียนธนาคารกรุงเทพ 28 โรงเรียนบ้านหนองไผ่หนองหิน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พร้อมอุปกรณ์ทางการศึกษา โดยมีนายนพวัชร สิงห์ศักดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายดิลก พจน์พงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษา - ประถมศึกษาอุดรธานี เขต1 นายแจ่ม ไพรดีพะเนาว์ ผู้อำนวยการโรงเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่หนองหิน ร่วมรับมอบ สำหรับโครงการสร้างอาคารเรียนในพื้นที่ห่างไกลนับเป็นหนึ่งในภารกิจคืนกลับสู่สังคมที่ธนาคารกรุงเทพดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 37 เพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในต่างจังหวัด โดยธนาคารได้ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนและส่งมอบให้กับจังหวัดต่างๆ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศมาแล้ว 27 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 28 แห่ง และในทุกปีจะดำเนินการสำรวจและซ่อมแซมอาคารเรียนที่ส่งมอบไปแล้วให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ ทั้งนี้ธนาคารกรุงเทพจะยังคงสานต่อกิจกรรมดังกล่าวต่อไปตามปณิธานที่วางไว้





ที่มา http://www.bangkokbank.com/bangkok%20bank%20Thai/about%20bangkok%20bank/about%20us/media%20room/2012/July/Pages/PressRelease4Jul.aspx

ธนาคารกรุงเทพ ต้อนรับคณะนักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยเปปเปอร์ดีน พร้อมบรรยาย “ทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยหลังวิกฤตน้ำท่วม”



ธนาคารกรุงเทพ ต้อนรับคณะนักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยเปปเปอร์ดีน พร้อมบรรยาย “ทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยหลังวิกฤตน้ำท่วม”


โดย ธนาคารกรุงเทพ 4 กรกฎาคม 2555




นายปิติ สิทธิอำนวย กรรมการธนาคาร (แถวหน้า ที่ 4 จากขวา) และดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
(แถวหน้า ที่ 6 จากซ้าย) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมให้การต้อนรับ Dr. Demos Vardiabasis อาจารย์วิชาเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระหว่างประเทศ (แถวหน้า ที่ 5 จากขวา) และคณะนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตร Presidents and Key Executives MBA จากมหาวิทยาลัยเปปเปอร์ดีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหลักสูตรพิเศษสำหรับผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจ ในโอกาสเดินทางเข้าเยี่ยมชมกิจการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ณ อาคารสำนักงานใหญ่ พร้อมรับฟังบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจไทยหลังวิกฤตน้ำท่วม” ทั้งนี้
นับเป็นโอกาสอันดีที่ธนาคารได้นำเสนอข้อมูลแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจและธุรกิจของไทย ตลอดจนบทบาทของธนาคารกรุงเทพในฐานะสถาบันการเงินอันแข็งแกร่งที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ


ออสสิริส ผนึก 4 ธนาคาร ออกบัตร P-CARD



“ออสสิริส" ผนึก 4 ธนาคาร ออกบัตร P-CARD



โดย ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- อังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 10:13:10 น



คุณบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออสสิริส จำกัด (กลาง)ร่วมด้วย คุณจิรนา โอสถศิลป์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการธุรกิจลูกค้ากลุ่มธุรกิจ 1 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(ซ้ายสุด) คุณพจนารถ แสงพฤกษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(ที่ 2 จากซ้าย) คุณจักรพันธ์ จารุธีรศานต์ FSVP ผู้จัดการบริหารเงินสด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) และคุณเอศ ศิริวัลลภ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (ขวาสุด) ร่วมกันออกบัตรเดบิต P-CARD ขยายช่องทางการชำระเงินแก่ลูกค้าออสสิริส เพื่ออำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมซื้อ-ขายทองคำ โดยฟรีค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ออสสิริส จำกัด โทร 02-613-0887 หรือ 02-613-0889

เงินบาทปิดที่ระดับ31.45/50บาท/ดอลลาร์


เงินบาทปิดที่ระดับ31.45/50บาท/ดอลลาร์

โดย กระแสหุ้น TUESDAY, 03 JULY 2012 23:28
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.45/50 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.58/60 บาท/ดอลลาร์

"ปิดตลาดเย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากในช่วงเช้า ปัจจัยหลักมาจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ระหว่างวันแม้จะมีข่าวในยูโรโซนเข้ามาบ้างแต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลเท่าใดนัก" นักบริหารเงิน กล่าว

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 79.71/90 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2580/2599 ดอลลาร์/ยูโร

ปัจจัยที่นักลงทุนรอดูในสัปดาห์นี้คือ การประชุมของธนาคารกลางยุโรป(ECB) ที่คาดว่ารอบนี้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ระดับ 1%

นักบริหารเงิน คาดว่า แนวโน้มเงินบาทวันพรุ่งนี้ยังมีทิศทางที่แข็งค่าต่อ มองกรอบไว้ที่ 31.40-31.60 บาท/ดอลลาร์


ธนาคารกรุงเทพขายหุ้นกู้ ‘อีซี่บาย’ครั้งใหม่ 9-12 ก.ค.นี้


ธนาคารกรุงเทพขายหุ้นกู้ ‘อีซี่บาย’ครั้งใหม่ 9-12 ก.ค.นี้

โดย กระแสหุ้น  MONDAY, 02 JULY 2012 11:05
นายสุรพันธ์ ปูรณคุปต์ ผู้จัดการ ฝ่ายทุนธนกิจ สายวานิชธนกิจ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงเทพจะเปิดรับจองซื้อหุ้นกู้ของบริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) ในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะเสนอขายแก่นักลงทุนทั่วไป มูลค่ารวมไม่เกิน 3,500 ล้านบาท ราคาหน่วยละ 1,000 บาท กำหนดจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ต่อชุด เสนอขายหุ้นกู้ทั้งหมด 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 หุ้นกู้มีประกัน อายุประมาณ 2 ปี 11 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.15% ต่อปี ชุดที่ 2 หุ้นกู้มีประกัน อายุประมาณ 3 ปี 7 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.40% ต่อปี

และชุดที่ 3 หุ้นกู้ไม่มีประกัน อายุประมาณ 2 ปี 11 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.40% ต่อปี โดยหุ้นกู้ชุดที่มีประกันได้รับการค้ำประกันโดย ACOM ซึ่งเป็นบริษัทสินเชื่อส่วนบุคคลยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอีซี่บาย ทั้งนี้ หุ้นกู้ชุดที่ 1 กับ ชุดที่ 2 ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระดับ BBB+ และชุดที่ 3 ในระดับ BBB จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด หุ้นกู้ทั้ง 3 ชุด กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับนักลงทุนที่จะได้ลงทุนในหุ้นกู้ของอีซี่บายอีกครั้ง หลังจากการเสนอขาย 2 ครั้งที่ผ่านมาได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม โดยครั้งนี้จะเสนอขายระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2555 ผ่านธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้นสาขาไมโคร) โดยมีธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน และบริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมิโก้ ร่วมจัดจำหน่าย

นายทาเคฮารุ อุเอมัทซึ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทรู้สึกยินดีที่นักลงทุนให้ความไว้วางใจในหุ้นกู้ของบริษัทใน 2 ครั้งที่ผ่านมา คาดว่าการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งใหม่คงจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเช่นเคย โดยบริษัทมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และ มีผลการดำเนินงานที่มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 1,310 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 42% จากปีก่อนหน้า และในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2555 บริษัททำกำไรสุทธิได้ถึง 524 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อนึ่ง การออกหุ้นกู้ครั้งนี้บริษัทจะนำเงินไปใช้ชำระคืนหุ้นกู้ชุดเก่า

บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้แก่ บริษัท ACOM ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น ถือหุ้นในสัดส่วน 75% และกลุ่มบริษัท อีโตชู ถือหุ้นในสัดส่วน 19% เพื่อให้บริการสินเชื่อบุคคลแก่ลูกค้าผ่านสาขารวม 81 แห่ง โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 บริษัทมียอดสินเชื่อกว่า 27,073 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 29,673 ล้านบาท หนี้สินรวม 25,023 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 4,650 ล้านบาท

สำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวได้ที่สาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือฝ่ายทุนธนกิจ โทร.  02-230-2328 บริการบัวหลวงโฟน โทร.1333 และ www.bangkokbank.com ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร 1770 ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร.  02-638-8324 บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) โทร  02-638-5000 และบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด โทร. 02-695-5405-8