วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

'ประสาร'ชี้10ประเทศอาเซียนรวมกันแกร่ง ศก.ขึ้นอันดับ2ของโลก


"ประสาร"แนะนักธุรกิจรับมือการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระบุ 10 ประเทศรวมกันขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ2ของโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  วันที่ 8 กรกฎาคม 2555 07:31

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง, เนชั่น กรุ๊ป และ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดสัมมนาทิศทางประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีนายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เน ชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นประธานกล่าวเปิดและต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความสนใจจากนักศึกษา นักธุรกิจ และ ประชาชนในจ.ลำปาง เข้าร่วมในเวทีสัมมนากว่า 300 คน โดยมี ดร.ประสาน ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง "รู้ทิศ ปรับกระบวนทัศน์ ให้ทันประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
ดร.ประสาร กล่าวว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี มีมิติที่เกี่ยวข้องกันหลายเรื่อง โดยผู้นำประเทศใน เออีซี ทั้ง 10 ประเทศมีแนวคิดรวมตัวกันเป็นกลุ่มและวางกรอบความร่วมมือกันใน 3 ด้าน คือ การค้า การลงทุน และการเงิน จุดเริ่มต้นของเออีซี เกิด จากผู้นำทั้ง 10 ประเทศสนใจที่จะรวมตัวกันเพื่อให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศเชื่อมโยงกันมากขึ้น การวมตัวไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจใหญ่ ขึ้นเท่านั้น แต่ด้านการค้าและการลงทุนก็ได้รับความสนใจด้วย จากข้อมูลของสหประชาชาติเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 32 ของโลก ขณะที่อันดับหนึ่ง คือ อเมริกา จีน และญี่ปุ่นตามลำดับ
ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจของไทยจะอยู่ในอันดับที 32 ถือว่าไม่เลวร้ายมากแต่ขนาดเศรษฐกิจมีสัดส่วนเพียง 0.5% เมื่อเทียบกับ เศรษฐกิจโลก และเมื่อเทียบกับอเมริกามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทยถึง 50 เท่า

แต่เมื่อ 10 ประเทศในอาเซียนรวมตัวกันขนาด เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยอินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดส่วนไทยอยู่อันดับสอง ส่วนจำนวนประชากรทั้ง 10 ประเทศรวมกันมีมากถึง 600 ล้านคน และขนาดเศรษฐกิจมีสัดส่วนถึง 3% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก ขณะที่เศรษฐกิจของอเมริกามีสัด ส่วนใหญ่กว่าเศรษฐกิจของอาเซียนเหลือเพียง 8 เท่า
นอกจากนี้สถานะของเออีซียังไม่ได้หยุดอยู่แค่ 10 ประเทศเท่านั้น ยังมีอาเซียนบวก 3 คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี การเข้ามา ลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยไม่ได้มองเฉพาะไทย แต่มองไทยพลัส เพราะเมื่อเศรษฐกิจของอาเซียนบวกกับเศรษฐกิจของอีก 3 ประเทศ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 21% ใกล้เคียงกับอเมริกา หากในอนาคตมีอาเซียนบวกหก คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียเพิ่ม โดยข้อตกลงเอฟทีเอที่ไทยทำไว้กับประเทศต่างๆขนาดเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเป็น 27% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของโลก ซึ่งความหมายของ การรวมกลุ่มเป็นเออีซี เพื่อขยายฐานการผลิตขงประเทศสามชิกให้คล่องตัวมากขึ้น มีการใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน ฯลฯ
ดร.ประสาร กล่าวว่า กรณีของประเทศไทยมีโจทย์ที่ต้องคิดเพิ่มเติม คือ เมื่อมีการใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน ก็ควรใช้อย่างอื่น ร่วมกันด้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

เพราะประเทศไทยกำลังอยู่ในกับดักของรายได้ในระดับปานกลาง ต่อไปประเทศที่กำลัง พัฒนา เช่น ลาว พม่า ก็จะพัฒนาประเทศใกล้เคียงกับไทย ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ประเทศพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้เพื่อออกจากกับดักดัง กล่าวจึงจำเป็นต้องใช้และอาศัยปัจจัยการผลิตของประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนรูปแบบในการรวมตัวกันเป็นเออีซีของ 10 ประเทศ ไม่ได้มีแนวความคิดแบบยุโรปที่มีการรวมตัวกัน เพราะในเชิง ศักยภาพประเทศในอาเซียนไม่ได้ถึงระดับของผู้บริโภคสุดท้าย คือ ผลิตใช้ในประเทศทั้งหมด แต่ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ยังมี บทบาทของคนกลาง คือ ผลิต ส่งขาย จึงต้องรวมตัวกันเพื่อสร้างตลาดและเศรษฐกิจร่วมกัน แต่เออีซียังต้องพัฒนาเพิ่มเติมนอกจาก ตลาดการค้า และสินค้า ยังมีเรื่องทุน และแรงงานเพิ่มเติมเข้ามาอีก ซึ่งเป้าหมายของเออีซียังเป็นแบบกลางๆคือ ทำข้อตกลงการค้า การ ตลาด และการลงทุนเสรีร่วมกัน แต่สำหรับยุโรปนอกจากข้อตกลงเขตเศรษฐกิจร่วมกัน ยังใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันด้วย แต่สิ่งที่ไม่ได้ทำคือ การประสานนโยบายการคลังและการเมืองที่ดีพอร่วมกัน
ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจของยุโรปมีปัญหาจึงเกิดผลข้างเคียงขึ้น แม้ในระยะแรงจะได้ประโยชน์เพราะได้สร้างความมั่งคั่งให้กับ ประเทศสมาชิก เช่นกรณีของประเทศกรีซ ที่เข้าสู่กลุ่มยุโรปในปี 2000 มีข้อตกลงใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน ซึ่งเดิมการกู้เงินของกรีซจะมี อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเยอรมันซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า แต่เมื่อไม่มีการประสานเรื่องนโยบายการเงินและการคลังร่วมกันกรีซจึงใช้ จ่ายเท่าเยอรมันที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าจนมีการอุปโภค-บริโภคเกินเลยเพราะใช้เงินสกุลเดียวกัน เมื่อเงินมีความเข้มแข็งสูงกว่า สภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่เมื่อขาดวินัยการเงินการคลังก็ประสบปัญหาและปัญหาก็ไม่ได้ถูกสะท้อนออกมาจนในที่สุดแก้ยาก ข้อเท็จ จริงสกุลเงินของกรีซต้องอ่อนกว่าสกุลเงินของเยอรมัน ท้ายที่สุดปัญหาจึงลามจากการเงินการคลังของรัฐบาลไปสู่สถาบันการเงิน รูป แบบของเงินสกุลยูโรจึงไม่ใช่สิ่งที่ผู้นำประเทศในอาเซียนคิด
ส่วนภาคการเงินหลังมีจุดเริ่มต้นรวมตัวกันเพื่อขยายตลาดการค้าและการลงทุน ซึ่งจะไปได้ดีต้องได้รับการสนับสนุนจากภาค การเงิน จึงมีแนวคิดประสานกันในภาคการเงินด้วย ได้มีการวางกลยุทธ์พัฒนาระบบการเงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการ เชื่อมโยงระบบการเงิน และพัฒนาสถาบันการเงินให้มีความเข้มแข็ง เพราะเศรษฐกิจของอาเซียนจะไปด้วยกันได้ต้องพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศในอาเซียนให้เท่าเทียมกัน ในปี 1995 จึงเริ่มเปิดเสรีตลาดเงินร่วมกันแต่แนวโน้มจะมีการพัฒนามากในช่วงปี 2014 - 2020 ขณะที่ภาคการค้ามีการลดภาษีเหลือ 0% ในหลายรายการ เหลือสินค้าบางรายการที่อ่อนไหวเท่านั้นที่ค่อยๆทะยอยลด โดยตั้งใจว่าภาย ในปี 2015 ตลาดการค้าในอาเซียนจะต้องเป็นตลาดการค้าที่เสรี

ดร.ประสาร กล่าวอีกว่า สำหรับภาคการเงิน ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่อ่อนไหวจึงกำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2020 เพื่อวางกรอบ ข้อตกลงในแต่ละประเทศอย่างเป็นขั้นตอนภายใต้บริบททางการเงิน 4 ด้าน คือ การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของประเทศในเออีซี การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การพัฒนาตลาดทุน และการเปิดเสรีภาคการธนาคาร ซึ่งระบบการเงินจะพัฒนาไปได้ดี แต่ละ ประเทศต้องสามารถไประดมทุนในตลาดกลางของภูมิภาคได้ ส่วนการเชื่อมต่อระบบชำระเงิน เพื่อการค้า การโอนเงิน และการทำธุรก รรมในตลาดทุน หลายประเทศเริ่มใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงกันทำให้การชำระเงินง่ายขึ้น เช่นกรณีของระบบการเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ของไทยและมาเลเซียที่เชื่อมโยงกันแล้ว หรือ การทำข้อตกลงในระดับทวิภาคีระหว่างธนาคารกรุงเทพและธนาคารใน สปป.ลาว ซึ่งต่อไปรูปแบบดังกล่าวจะขยับเป็นข้อตกลงแบบพหุภาคีที่ขยายเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเออีซี ต่อไปจะทำให้ระบบการชำระเงิน ของประเทศในเออีซีสะดวกมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้การลดจุดตรวจการชำระเงินเป็นการเปิดเสรีให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมากขึ้น ซึ่งไทยจะทำคู่ขนานไปกับการส่งเสริมให้ คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ แต่สำหรับการเปิดเสรีภาคการธนาคารเนื่องจากแต่ละประเทศมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จึงมีความได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้นจึงได้มีการกำหนดกรอบการเปิดเสรีไว้ในปี 2020 ขณะที่ปัจจุบันมีการตั้งคณะทำงานเพื่อวาง กฎเกณฑ์และคุณสมบัติของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าข่ายได้รับอนุญาตไปเปิดทำธุรกรรมในต่างประเทศได้คาดว่ากรอบจะออกในปีนี้ แต่ ปัจจุบันจะเห็นว่ามีธนาคารหลายแห่งของประเทศในเออีซีเข้ามาลงทุนในไทย
สำหรับกรณีของประเทศไทยศักยภาพที่สถาบันการเงินของ เอกชนจะไปแข่งขันขึ้นกับปัจจัยด้านคนและทุน ไทยอาจยังมีข้อจำกัด เพราะไม่มีบุคลากรที่พร้อมไปทำงานนอกประเทศ และอาจ ประสบปัญหาผลตอบแทนต่ำกว่าที่เคยลงทุนในประเทศ
"ธนาคารกรุงเทพฯถือว่ามีฐานการลงทุนที่ใหญ่สุด หากมีการเปิดเสรีและมีธนาคารจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันไม่น่าจะมี ผลมากเพราะระยะหลังจะเห็นว่ามีธนาคารต่างชาติเข้ามาลงทุนจำนวนมาก แต่สำหรับธนาคารไทยเมื่อเปิดเสรีจะแข่งขันได้อย่างไรถือ เป็นโจทย์สำคัญ ที่ผ่านมาจึงมีแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินก่อนก้าวสู่เออีซี เช่น ปี 2004 - 2008 เน้นการสร้างความเข้มแข็ง ส่วน ในเฟสที่ 2 ปี 2010 - 2014 เน้นการประสานงานกันเพื่อเพิ่มทุนและสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ"ดร.ประสาร กล่าว

ดร.ประสาร กล่าวต่อไปว่า สำหรับตลาดทุนที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีมูลค่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อ 10 ประเทศในเอ อีซีมารวมกันตลาดหุ้นมีมูลค่าสูงถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงมีการคัดเลือกหุ้น 30 ตัวจากตลาดทุนของแต่ละประเทศในเออี ซีที่มีความโด่ดเด่น เพื่อให้นักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุน แต่ในระยะต่อไปจะมีการสร้างเกสเวย์ หรือศูนย์กลางโดยใช้เน็คเวิร์คของแต่ ประเทศสมาชิกเออีซี เพิ่มเชื่อมโยงตลาดทุนระหว่างกัน ต่อไปนักลงทุนสามารถซื้อหุ้นของอีกประเทศในกลุ่มเออีซีผ่านโปรเกอร์ใน ประเทศของตนเองได้ หากพัฒนาตลาดทุนได้จะเป็นการเปิดเสรีให้สามารถไประดมทุนในต่างประเทศได้ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง
เนื่องจากในภูมิภาคอาเซียนมีเงินออมเหลือและมีความต้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมาก ที่ผ่านมาจึงเห็นเงินออของอา เซียนไปลงทุนในตลาดทุนของลอนดอน นิวยอร์ก ก่อนจะกลับมาในเอเชีย ดังนั้นหากธนาคารในยุโรปอ่อนแอเป็นไปได้หรืแไม่ที่ธนาคาร ในเอเชียจะเข้ามาทดแทนจึงเป็นโจทย์และความท้าทายที่ต้องคิดกันต่อไป
อย่างไรก็ตามโอกาสและความท้าทายของประเทศในเออีซียังมี เพราะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศยังแตกต่างกันการก้าวสู่ ประชาคมอาเซียนจึงต้องลดจุดอ่อนข้อนี้ สถาบันการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น